ประวัติความเป็นมา
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ . ศ . ๒๕๓๗ ภาคตะวันออกอยู่แล้วตามปณิธานและโดยชื่อของมหาวิทยาลัยบูรพา นอกจากนี้มหาวิทยาลัยต้องการสร้างความเชี่ยวชาญในด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล จึงต้องการพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่เหมาะสม ในการศึกษาวิจัยในเรื่องการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ) ในการนี้จังหวัดยินดีอนุญาตให้ใช้ ที่ดินสาธารณประโยชน์หนองสนามไชยพื้นที่ประมาณ ๘๗๘ ไร่ เพื่อจัดตั้งวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าควรใช้ พื้นที่หนองสนามไชย สำหรับการค้นคว้าและวิจัยในเรื่องการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง จัดตั้งศูนย์นิเวศวิทยา และการสร้างสวนป่าชายเลนเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสปีกาญจนาภิเษก เนื่องจากมีน้ำทะเล เข้าถึงพื้นที่เกือบทั้งหมด แต่อาจมีปัญหาการใช้น้ำจืด จึงได้ประสานงานกับจังหวัดในการหาพื้นที่แห่งใหม่สำหรับจัดการเรียน การสอนหรือผลิตบัณฑิต และได้รับอนุญาตให้ใช้ พื้นที่ ดังนี้
- แปลงที่ ๑ เลขที่ ๕๗ หมู่ ๑ ตำบลโขมง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ ๔๕๐ ไร่ ๓ งาน ๓๔ ตารางวา
- แปลงที่ ๒ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๔ และ ๖ ตำบลสนามไชย อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ ๗๗๖ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา
- แปลงที่ ๓ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ และ ๙ ตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี พื้นที่ ๑๗๙ ไร่ ๒๒ ตารางวา
- แปลงที่ ๔ ตั้งอยู่ที่ทุ่งร้อยรู ตำบลแสนตุ้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด พื้นที่ ๘๙๗ ไร่ ๑ งาน ๓๐.๙๐ ตารางวา
มหาวิทยาลัยมีนโยบาย ให้เปิดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี จึงใช้อาคารหอประชุมทองใหญ่อนุสสร เป็นสำนักงานและอาคารเรียนชั่วคราว เปิดทำการสอนตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จังหวัดได้อนุญาตให้ใช้ ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าเป็นอาคารเรียนและห้องสมุด เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๔๔ ได้ทำการย้ายสำนักงานวิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี มายัง ต.โขมง อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ( ที่เป็นสถานที่ก่อสร้าง มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศ จันทบุรี ) และเปิดทำการเรียน การสอนในภาคต้น /๒๕๔๔ และ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนชื่อ จากมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสารสนเทศจันทบุรี เป็น มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี จนถึงปัจจุบัน
ปรัชญา
สร้างเสริมปัญญา ใฝ่หาความรู้ คู่คุณธรรม ชี้นำสังคม
คำขวัญ
สุโข ปญฺญาปฏิลาโภ ความได้ปัญญา ให้เกิดสุข
วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยบูรพา ขุมปัญญาตะวันออก
W.E. BURAPHA (Wisdom of the East)
ปณิธาน
1. ผลิตบัณฑิตให้มีปัญญา ใฝ่หาความรู้และคุณธรรม
2. สร้างองค์ความรู้ใหม่ เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ
3. เป็นที่พึ่งทางวิชาการ สืบสานวัฒนธรรม ชี้นำแนวทางการพัฒนาแก่สังคม โดยเฉพาะภาคตะวันออก